บทความเรื่องเทคโนโลยีกับการจัดการความรู้เป็นบทความที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการความรู้
ซึ่งถือได้ว่ามีความสำคัญมากในโลกปัจจุบันที่มีการใช้เทคโนโลยีกันอย่างแพร่หลาย
โดยเริ่มจากการเกริ่นนำความหมายของข้อมูล สารสนเทศและความรู้ทั้งสองประเภทคือ Explicit
knowledge และ Tacit knowledge นอกจากนี้ยังให้นิยามคำว่าการจัดการความรู้
เพื่อเป็นการทำความเข้าใจก่อนที่จะนำไปสู่การปฏิบัติในกระบวนการจัดการความรู้
โดยมีแผนภาพประกอบเพื่อง่ายต่อการเข้าใจ
รวมไปถึงแนะวิธีการนำเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการจัดการความรู้อีกด้วย
สมชาย
นำประเสริฐชัย. เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้ [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ
7 กันยายน 2550.เข้าถึงได้จาก http://cddweb.cdd.go.th/chumchon/menu/km/km_004.pdf
“การจัดการความรู ้ ” เพื่อเพิ่มมูลค่า เป็นบทความที่ให้แง่คิดในการจัดการความรู้
กล่าวคือให้วิธีการและประโยชน์ของการจัดการความรู้ ให้ตระหนักถึงความสำคัญที่จะต้องมีการจัดการความรู้เพื่อทำให้เพิ่มมูลค่าในการทำงานและเป็นคนงานที่มีความรู้ต่อไป
อาภรณ์
ภู่วิทยพันธุ์. การจัดการความรู ้เพื่อเพิ่มมูลค่า [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ
6 กันยายน 2550. เข้าถึงได้จาก http://agritech.doae.go.th/actech/folder/sptf4908.pdf
การบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นบทความที่ปูพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการความรู้เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารองค์กร
ทั้งนี้ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำนิยามหรือความหมายคำว่า
การจัดการความรู้ของบุคคลและองค์กรต่างๆ
ให้เหตุผลว่าทำไมในปัจจุบันการจัดการความรู้ในองค์กรถึงมีความจำเป็นมากนัก และได้แนะนำทฤษฎีวงจรความรู้นำไปสู่การปฏิบัติที่แท้จริง
นอกจากนี้ยังลงท้ายด้วยประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดการความรู้ในองค์กร
เพื่อเป็นแรงผลักดันให้องค์กรต่างๆ หันมาให้ความสนใจกับการจัดการความรู้กันมากขึ้น
สุวัชรา จุ่นพิจารณ์.การบริหารจัดการความรู้ (Knowledge
Management) [ออนไลน์].
เข้าถึงเมื่อ 6 กันยายน 2550. เข้าถึงได้จาก http://www.pharmacy.cmu.ac.th/team/knowledge.pdf
บทความเรื่องวิธีดําเนินการจัดการความรู ในองค์กรตามแนวทางของ Nonaka & Takeuchi เป็นบทความที่กล่าวถึงกิจกรรม 7 ประการในการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร
โดยได้ชี้แนะให้ผู้บริหารระดับสูงหันมาสร้างวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความสำคัญของความรู้ให้มากขึ้น
ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การสร้างทีมงานที่มีหน้าที่จัดการความรู้ในองค์กร คือ
ผู้ปฏิบัติจัดการความรู้ ผู้เชี่ยวชาญความรู้ วิศวกรความรู้ ผู้บริหารความรู้
รวมไปถึงการสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างพนักงาน
การนำความรู้ไปใช้ในการผลิตใหม่ๆ และสร้างองค์กรแบบพหุบาท
วิจารณ์
พานิช. วิธีดําเนินการจัดการความรู
ในองค์กรตามแนวทางของ Nonaka & Takeuchi
[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2550. เข้าถึงได้จาก http://www.hkm.nu.ac.th/Document/KM1.pdf
บทความเรื่อง “การจัดการความรู้…เรื่องเก่าเอามาเล่าใหม่” นี้เป็นบทความที่อยู่ในเว็บไซต์ของสคส. (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม)
เนื้อหาของบทความนี้นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจของการจัดการความรู้
มีการยกตัวอย่างจากสำนวนและสุภาษิตไทยต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่า
การจัดการความรู้ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการดำเนินการมาตั้งแต่ในอดีต
เพียงแต่อาจจะขาดองค์ประกอบบางอย่างหรือการจัดการที่เป็นระบบเท่านั้นเอง
องค์กรทั้งภาครัฐและบริษัทเอกชนเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องของการจัดการความรู้
หรือ Knowledge Management (KM) กันมากขึ้น
เนื่องจากข้อมูลต่างๆในปัจจุบันนั้นมีเป็นจำนวนมาก
จนกระทั่งเป็นเรื่องยากในการนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ หลายองค์กรคาดหวังว่า
การจัดการความรู้จะช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันดียิ่งขึ้น
หรือมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับองค์กรชั้นนำได้
โดยปรับเปลี่ยนกรรมวิธีการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแทนการลงทุนทางด้านทรัพย์สิน
การจัดการความรู้ไม่ใช่เรื่องใหม่
ซึ่งมีความสำคัญต่อความอยู่รอดของบุคคลและองค์กรในปัจจุบัน
ในอดีตที่ผ่านมานั้นองค์กรต่างๆยังไม่มีการจัดการที่เป็นระบบแบบแผนมากนัก
ถ้าหากมีการปรับปรุงและบริหารการจัดการความรู้ที่ดีนั้น
ก็จะช่วยให้องค์กรนั้นไปสู่ความสำเร็จได้ง่ายยิ่งขึ้น
การดำเนินการในเรื่องของการจัดการความรู้นั้นอาจไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไรเพิ่มเติมเลย
เพียงแต่เน้นการทำงานและการใช้งานให้เป็นกระบวนการ
ที่เน้นในเรื่องของความรู้ที่ทั้งรูปธรรมและนามธรรมให้มากยิ่งขึ้น
รวมทั้งช่วยกันสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
สมชาย
นำประเสริฐชัย. การจัดการความรู้
เรื่องเก่าเอามาเล่าใหม่ [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 10
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น