Hamutaro ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของ นางสาวศศิฉาย ศรีเทพ รหัสนักศึกษา 5942040014 วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช

ประเภทของความรู้




ประเภทของความรู้ 

ประเภทของความรู้ เป็นอย่างไรบ้าง ประเภทของความรู้ มี 2 ประเภท คือ
        1. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
เป็น ความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ เอกสาร กฎระเบียบ วิธีการปฏิบัติงาน สื่อต่างๆ เช่น VCD DVD Internet เทป เป็นต้น และบางครั้งเรียกว่า ความรู้แบบรูปธรรม

         2. ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
เป็น ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ ประสบการณ์ แนวความคิด บางครั้งจึงเรียกว่า ความรู้แบบนามธรรม 
          ในชีวิตจริง ความรู้ 2 ประเภทนี้จะเปลี่ยนสถานภาพ สลับปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา บางครั้ง Tacit ก็ออกมาเป็น Explicit และบางครั้ง Explicit ก็เปลี่ยนไปเป็น Tacit


         "โมเดลปลาทู" เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี 3 ส่วน คือ  
        1. ส่วน "หัวปลา" (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า "เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?" โดย "หัวปลา" นี้จะต้องเป็นของ "คุณกิจ" หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี "คุณเอื้อ" และ "คุณอำนวย" คอยช่วยเหลือ
         2. ส่วน "ตัวปลา" (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง "คุณอำนวย" จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ "คุณกิจ" มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว "คุณกิจ" พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
          3. "ส่วน "หางปลา" (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ "คลังความรู้" หรือ "ขุมความรู้" ที่ได้จากการเก็บสะสม "เกร็ดความรู้" ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ตัวปลา" ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ "หางปลา" นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไปคนสำคัญที่ดำเนินการจัดการความรู้
เกลียวความรู้
เกลียวความรู้ หรือ Knowledge Spiral อีกชื่อหนึ่งคือ SECI Model เป็นที่นิยมนำมาใช้ในการจัดการความรู้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน SECI Model ประกอบด้วยS=Socialization การเปลี่ยนรูปจากความรู้ที่ฝังลึกไปสู่ความรู้ที่ฝังลึก หรือ การนำสู่สังคมE=Externalization การเปลี่ยนรูปจากความรู้ที่ฝังลึกไปสู่ความรู้ที่ชัดแจ้ง หรือ การนำออกสู่ภายนอกC=Combination การเปลี่ยนรูปจากความรู้ที่ชัดแจ้งไปสู่ความรู้ที่ชัดแจ้งหรือการรวมI=Internalization การเปลี่ยนรูปจากความรู้ที่ชัดแจ้งไปสู่ความรู้ที่ฝังลึกหรือการนำเข้าสู่ภายใน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น